Last updated: 20 ม.ค. 2568 | 6435 จำนวนผู้เข้าชม |
"มะเร็งเต้านม"...โรคที่เป็นสาเหตุให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1
แต่!!!...ถึงแม้ว่า "มะเร็งเต้านม" จะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 ก็ตาม...แต่หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา ก็สามารถหายขาดจากโรคได้
อยากรู้ใช่ไหมคะ...ว่าอาการแบบไหนเสี่ยง "มะเร็งเต้านม"
เบื้องต้น...หากคลำพบ...มีก้อนในเต้านมหรือใต้แขน บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง มีเลือด หรือมีแผล เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม มีอาการปวดบริเวณเต้านม ให้รีบไปพบแพทย์ตรวจอย่างละเอียดคะ
"มะเร็งเต้านม" มีกี่ระยะ??
ปัจจุบันมีการแบ่งระยะของมะเร็งเต้านมเป็น 5 ระยะ ดังนี้คะ
ระยะที่ 0 : เป็นระยะที่เพิ่งก่อตัว ยังอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ยังไม่แบ่งตัวลุกลามสู่ภายนอกพื้นที่
ระยะที่ 1 : ระยะที่เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามออกมานอกเนื้อเยื่อตรงจุดที่ก่อตัว ขนาดไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
ระยะที่ 2 : ระยะนี้ยังไม่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ก้อนเนื้อร้ายมีขนาดระหว่าง 2–5 เซนติเมตร (ไม่เกิน 5 เซนติเมตร)
ระยะที่ 3 : ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตรขึ้นไป แล้วอาจเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้จนทั่ว
ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด กระดูก ตับ สมอง เป็นต้น
มะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มไม่มีอาการ การตรวจร่างกายอาจยังตรวจไม่พบ
เนื่องจากรอยโรคเล็กมากจึงเปรียบเสมือน “มฤตยูเงียบ” การตรวจคัดกรองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคลำเต้านมอย่างถูกวิธี ไปจนถึงการเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Mammogram) และอัลตราซาวด์ (Ultrasound) จึงมีความสำคัญ
มะเร็งเต้านม หากตรวจพบในระยะแรกๆ เซลล์มะเร็งพึ่งจะก่อตัวขึ้น ยังไม่ทันลุกลามออกไปจากจุดที่ก่อตัว ยังสามารถรักษาได้ง่ายและโอกาสหายขาดสูงมาก
ทางเลือกในการรักษา"มะเร็งเต้านม"
เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม ก่อนอื่นเราก็ต้องทำความเข้าใจในวิธีการรักษาหรือทางเลือกในการรักษาก่อน
การรักษาจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ การผ่าตัด การรักษาด้วยยา และการฉายรังสี โดยวิธีที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งเต้านมและสุขภาพของผู้ป่วย
การผ่าตัด : มีหลายแบบ การเลือกแนวทางไหนก่อนหรือหลัง แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละท่าน
การผ่าตัดเฉพาะที่ (Lumpectomy) : จะตัดเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบข้าง
การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด (Mastectomy) : ตัดเต้านมทั้งเต้า อาจรวมถึงการตัดต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
การผ่าตัดเพื่อป้องกัน (Prophylactic Surgery) : ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง เช่น มีการกลายพันธุ์ในยีน BRCA1 หรือ BRCA2
การรักษาโดยใช้ยา
เคมีบำบัด (Chemotherapy) : ใช้ยาทำลายเซลล์มะเร็งเต้านม เหมาะสำหรับระยะที่มะเร็งเต้านมลุกลามหรือมีการแพร่กระจาย
การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) : ใช้ในกรณีที่มะเร็งเต้านมตอบสนองต่อฮอร์โมน เช่น Estrogen หรือ Progesterone
ยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy): เช่น Trastuzumab (Herceptin) เหมาะสำหรับมะเร็งชนิด HER2-positive
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) : กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้โจมตีเซลล์มะเร็ง
การฉายรังสี (Radiation Therapy) ใช้รังสีพลังงานสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง เหมาะสำหรับกรณีที่มะเร็งเต้านมยังคงอยู่ในเต้านมหลังการผ่าตัด
ก่อนเข้ารับการรักษา...มาทำความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้คะ
การรักษามะเร็ง...ตามแนวทางแพทย์แผนปัจจุบัน สิ่งที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามะเร็งเต้านมจะได้เจอ คือ การผ่าตัด การรักษาโดยใช้ยา(เคมีบำบัด/คีโม) การฉายรังสี(ฉายแสง) ซึ่งการรักษา ผู้ป่วยมะเร็งจะได้รับผลข้างเคียงไม่มากก็น้อย ซึ่งผู้ป่วยบางคนได้รับผลข้างเคียงมากจนไม่สามารถรับการรักษามะเร็งเต้านมต่อเนื่องได้ เซซามิน เป็นทางเลือก ช่วยผู้ป่วย เอมมูร่า เซซามิน รักษามะเร็งเต้านม วิธีรักษามะเร็ง
ดังนั้น...การเตรียมความพร้อมของร่างกายให้แข็งแรง เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ก่อนเข้ากระบวนการรักษามะเร็งเต้มนมกับแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อรับการให้คีโมหรือรับการฉายแสง จึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงน้อยที่สุด และรับการรักษามะเร็งเต้มนมได้อย่างต่อเนื่อง เอมมูร่า เซซามิน รักษามะเร็ง มะเร็ง วิธีรักษามะเร็ง
การรักษามะเร็ง ด้วยการผ่าตัด : วิธีการผ่าตัดผลกระทบข้างเคียงอาจจะไม่มาก แต่ในผู้ป่วยบางราย การฟื้นตัวใช้ระยะเวลานาน และการผ่าตัดใช้ได้กับการรักษามะเร็งบางชนิด...มะเร็งเต้านมเป็นอีกหนึ่งชนิดที่แพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการรักษาแบบผ่าตัด ขึ้นอยู่กับระยะและขนาดของก้อนที่ตรวจพบ เซซามิน มะเร็งเต้านม วิธีการรักษามะเร็ง
จากงานวิจัย...พบกลไกการออกฤทธิ์ของสาร "เซซามิน Sesamin" ต่อเซลล์มะเร็ง
เซซามิน sesamin มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังเกือบทุกชนิด รวมถึงมะเร็งด้วยคะ
เซซามิน sesamin จัดการเซลล์มะเร็งได้ โดยไปยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ของเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นท่อน้ำเลี้ยง เส้นทางการกินอาหารของมะเร็ง เมื่อเซลล์มะเร็งไม่ได้กินอาหารก็จะฝ่อและตายได้
เซซามิน sesamin ช่วยกระตุ้นสมดุลย์ระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง เมื่อภูมิคุ้มกันแข็งแรงก็ไปจัดการเซลล์มะเร็งได้อีกทางหนึ่งด้วยคะ
เซซามิน...เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไร??
คุณประโยชน์ของเซซามิน จะช่วยดูแลดังนี้คะ
เซซามิน sesamin ดูแลร่างกายและช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงและพร้อมรับการรักษามะเร็งตามแพทย์แผนปัจจุบันได้
เซซามิน sesamin ดูแลให้ผลกระทบข้างเคียงจากการให้เคมี(คีโม)และการฉายแสงน้อยลง จากหนักกลายเป็นเบา เซซามิน เอมมูร่า รักษามะเร็ง
เซซามิน sesamin ช่วยเสริมการรักษามะเร็งของแพทย์แผนปัจจุบัน ทำให้การรักษามะเร็งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เอมมูร่า เซซามิน
เซซามิน sesamin ทำลายเกราะป้องกันเซลล์มะเร็ง เมื่อมะเร็งไม่มีเกราะป้องกัน ผู้ป่ายรับคีโมเข้าไปก็ไปจัดการเซลล์มะเร็งได้ตรงจุด และเม็ดเลือดขาวหรือระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงก็เข้าไปจัดการเซลล์มะเร็งได้
เซซามิน sesamin ทานเพื่อดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ที่คนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง ให้เอมมูร่าดูป้องกันมะเร็ง
เซซามิน sesamin ทานเพื่อดูแลสุขภาพ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ให้มะเร็งกลับมาได้อีก โดยเซซามินจะไปตัดวงจรการกินอาหารของมะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็ง ฝ่อและตายเหมือนเซลล์ทั่วๆไป
คณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ ค้นพบกลไกการทำงานของเซซามิน ที่มีผลกับเซลล์มะเร็ง
โดยพบว่า...เมื่อรับประทานเซซามินเข้าไปในร่างกายจะช่วยป้องกันการเกิดหลอดเลือดใหม่ที่จะถูกกระตุ้นด้วยสารที่หลั่งมาจากเซลล์มะเร็ง
เมื่อเซลล์มะเร็งแบ่งตัวและขยายใหญ่ขึ้นจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ เพื่อดูดอาหารไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง พร้อมทั้งแบ่งเซลล์ผ่านหลอดเลือดและเนื้อเยื่อไปยังอวัยวะอื่นๆ จนมะเร็งกระจายไปทั่วร่างกายเซซามินดูแลช่วงการรักษามะเร็ง
เซซามิน จากงาดำจะไปตัดวงจรไม่ให้เซลล์มะเร็ง สร้างหลอดเลือดใหม่ เมื่อเซลล์มะเร็งไม่มีอาหารเซลล์มะเร็งก็ฝ่อและตาย และเซซามินยังช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้แข็งแรง ช่วยจัดการเซลล์มะเร็งอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นการจัดการถึงต้นตอแบบถอนรากถอนโคนเลยทีเดียว
>> มาทำความรู้จัก"เซซามิน"กันนะคะ <<
ปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
มีหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
ผู้หญิงที่มีอายุ >50 ปี จะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่ง มีความเสี่ยง 3-4 เท่า ที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้างได้
ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นมะเร็งรังไข่ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ เพราะมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน
หากคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นได้
การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ ซึ่งพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 (BRCA ย่อมาจาก BReast CAncer gene) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย
การใช้ชีวิตประจำวันก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง
6 สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่คุณผู้หญิงควรรู้
1.คลำพบก้อนหนาๆบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้
ทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านเป็นประจำ โดยก้อนเนื้อที่พบอาจจะกดเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ และควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนหลังรอบเดือนหมด ประมาณ 1 สัปดาห์
2.รูปร่างหรือขนาดของเต้านมเปลี่ยนไป
ถึงแม้ว่า...ปกติเต้านมทั้ง 2 ข้าง อาจมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกันบ้าง แต่ต้องหากมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างมีลักษณะผิดไปจากเดิม จะช่วยให้รู้เท่าทัน หากเกิดโรคร้ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
3.หัวนมบุ๋ม หรือบวมเหมือนเปลือกส้ม
สี หรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ควรรีบพบแพทย์ ซึ่งอาจเป็นอาการของเซลล์มะเร็งที่ลุกลามมาถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
4.มีเลือด น้ำเหลือง ไหลออกมาจากหัวนม
หากพบว่ามีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกจากหัวนมเพียงรูเดียว
5.เต้านมมีแผล มีผื่น แดง ร้อน มีอาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม
เต้านมเจ็บโดยที่ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน หรือมีผิวหนังรอบๆ เต้านมบวมแดงอักเสบ โดยเฉพาะเมื่อคลำพบก้อนเนื้อร่วมด้วย
6.ผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาแล้วไม่หายขาด
เต้านมมีผื่นคัน อาจเกิดขึ้นที่หัวนม หรือบริเวณเต้าส่วนใหญ่ มีอาการ ผื่นแดงแสบๆ คันๆ
ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม โดยมีปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงมากมาย ทั้งอายุ พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต การป้องกันที่ดีคือหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายและเต้านมสม่ำเสมอ หากพบสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
29 มี.ค. 2563
14 มี.ค. 2563
14 มี.ค. 2563
29 มี.ค. 2563